
โอเมก้า-3 ใช่สำหรับคุณหรือไม่?
เริ่มจาก โอเมก้า-3 (Omega-3) คืออะไร?
โอเมก้า-3 โดยเฉพาะ EPA และ DHA คือ กรดไขมันสายโซ่ยาวที่ได้จากปลา สาหร่ายขนาดเล็กบางชนิดและเคย คุณจะต้องประหลาดใจเมื่อรู้ว่างานวิจัยเกี่ยวกับโอเมก้า-3, EPA และ DHA นั้นมีมากกว่าไอบูโพรเฟน, กรดโฟลิค และวิตามิน อี (Vitamin E) (ข้อมูลจากองค์การโลกสำหรับ EPA & DHA Omega-3s)
อันที่จริง พวกเขาทำวิจัยผลของโอเมก้า-3 ทั้งในส่วนของหัวใจ, สมอง, ข้อต่อ, และดวงตา
แหล่งโอเมก้า-3 ที่ดีที่สุดคือปลาไขมันสูง อย่างแซลมอน, แองโชววี่, เฮอร์ริ่ง, แมคเคอเรล, และทูน่า อาหารเสริมโอเมก้า-3 ที่มีทั้ง EPA และ DHA ก็เป็นตัวเลือกที่ดี หากคุณไม่ชอบทานปลา
แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณได้รับโอเมก้า-3อย่างเพียงพอ?
ในชีวิตจริง ทุกคนล้วนต้องการสารอาหารที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิต, กรรมพันธุ์ และการบริโภค ดังนั้นวิธีเดียวที่จะทำให้คุณทราบได้ว่าคุณได้โอเมก้า-3 อย่างเพียงพอต่อประโยชน์ที่ควรจะได้รับแล้วรึยัง นั่นคือ การวัดระดับสารอาหารง่ายๆที่เรียกว่า ดัชนีโอเมก้า-3 (Omega-3 Index)

จำเป็นต้องให้หมอเป็นคนวัดดัชนีโอเมก้า-3ไหม?
ไม่เลย การทดสอบตัวอย่างเลือดง่ายๆที่คุณก็ทำเองที่บ้านได้ ดัชนีโอเมก้า-3 คือการวัดสารสำคัญของโอเมก้า-3 ในเลือด นั่นก็คือ EPA และ DHA ผลจากการวัดกรดไขมันเหล่านี้จะทำให้คุณทราบได้ว่า ระดับโอเมก้า-3 ของคุณเป็นอย่างไร ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของคุณ
เครื่องคำนวณดัชนีโอเมก้า-3 ของเรา จะช่วยตอบคุณได้ว่า คุณต้องการโอเมก้า-3 เพิ่มเท่าไหร่
คุณทราบหรือไม่ว่า ที่จริงแล้วดัชนีโอเมก้า-3 เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ที่ดีกว่าเซรุ่มคอเรสเตอรอลเสียอีก?
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Clinical Lipidology ฉบับเดือนมีนาคม แสดงให้เห็นถึง อัตราความเสี่ยงของการเสียชีวิตของคนช่วงอายุ 66 – 73 ปี น้อยกว่า 33% ในคนที่มีดัชนีโอเมก้า-3 สูงสุด เมื่อเทียบกับคนที่มีต่ำสุด
รายงานเรื่องความเกี่ยวเนื่องระหว่างระดับโอเมก้า-3ในเลือดสูง กับอัตราความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่ลดลง ยังปรากฏในงานวิจัยอีก 3 ชิ้น แต่ที่น่าสนใจที่สุดคืองานวิจัยล่าสุดจากฟรามิงแฮม ที่ผู้ทดลองได้เปรียบเทียบความสามารถในการชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจระหว่างเซรุ่มคอเรสเตอรอล กับดัชนีโอเมก้า-3 ซึ่งผลสรุปออกมาว่า คุณควรให้สนใจดัชนีโอเมก้า-3 พอๆกับคอเรสเตอรอล
จากบทความที่เราลงไว้ตอนต้นปี ได้พูดถึงงานวิจัยที่ออกทุนโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติที่แสดงให้เห็นถึง ดัชนีโอเมก้า-3ที่สูง มีความเกี่ยวข้องกับอัตราความเสี่ยงที่ลดลงในโรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเส้นเลือดสมองตีบ-ตัน
จุดเริ่มต้นของชีวิตแบบเฉพาะตัว
ปัจจุบันมีวิธีมากมายที่ช่วยให้เราดูแลตัวเอง ทั้งจาก application ต่างๆ, ที่ปรึกษาทางการแพทย์เสมือนจริง ไปจนถึงชุดทดสอบสุขภาพที่บ้านหลายรูปแบบ เป็นส่วนหนึ่งของค่านิยม “เฉพาะตัว” ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่วิตามิน (Vitamin) ไปจนถึงอาหารและของว่าง หรือทั้ง 3 อย่างรวมกัน อย่างเช่น Bulu Box
ความท้าทายในเรื่องของสารอาหาร คือการที่คนทุกคนย่อมมีความต้องการเฉพาะตัว ยุคของ Multi Vitamin ที่ครอบคลุมทุกเรื่องได้หมดไปแล้ว เพราะทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ต้องการสารอาหารที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะโอเมก้า-3
ที่สำคัญอย่างลืมศึกษาและรู้จักตัวเองให้ดีก่อนที่จะทานอะไร เพราะมีเพียงคุณเท่านั้นที่รู้ว่าอะไรดีที่สุดสำหรับตัวเอง

